dust
Moderator
Hero Member
    
ออฟไลน์
กระทู้: 649

|
 |
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2017, 08:10:05 pm » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2017, 10:37:08 am โดย dust »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
dust
Moderator
Hero Member
    
ออฟไลน์
กระทู้: 649

|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2017, 08:13:29 pm » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2017, 07:19:13 pm โดย dust »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
dust
Moderator
Hero Member
    
ออฟไลน์
กระทู้: 649

|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2017, 11:04:00 am » |
|
อธิบายวิธีตั้งไบแอสแอมป์ครับ 1. ก่อนอื่นเลย แนะนำว่าทรานซิสเตอร์เบอร์ BC547/BC557 ยังไงก็ควรคัดค่า Hfe ให้ได้ใกล้เคียงกัน ถึงแม้ว่าวงจรนี้จะมีดีซีเซอร์โวคอยช่วยปรับดีซีออฟเซ็ทอยู่แล้ว ก็ยังควรที่จะคัดค่าทรานซิสเตอร์อยู่ดี เพราะว่าถ้าค่า Hfeใกล้เคียงกัน ก็จะได้THDที่ต่ำกว่าไม่ได้คัดค่า กูรูเค้าบอกมายังงี้น่ะ สำหรับBC547/BC557 ผมใช้ยี่ห้อOnSemi เลือกค่า 65x-66x-67x ก็คละๆกันไป ส่วนทรานซิสเตอร์ที่เอาท์พุท ไม่ต้องจับคู่แมทช์แพร์อะไร ผมเลือกใช้ ST BD139/BD140 ธรรมดามากจริงๆ แล้วก็พวกตัวต้านทาน แนะนำว่าใช้แบบเมทัลฟิล์ม1% อย่าลืมว่า แถบสีมันอ่านยากมาก แนะนำว่าให้หาแว่นส่องขยายไว้ใกล้ๆมือสักหน่อยก็ดี หรือมีมิเตอร์เอาไว้วัดค่าตัวต้านทานก็ดีครับ บางทีวางรวมๆกันแล้วลืมไปว่ามันค่าอะไรบ้าง แล้วก็ทริมพ็อท ค่า5K แบบ25รอบ ตอนใส่ลงบอร์ดวางให้ถูกตามตำแหน่งในรูปบอร์ดด้วย ส่วนพวกคาปาซิเตอร์ เลือกเอาตามที่ชอบแล้วกัน ยกเว้นพวกซีแบบฟิล์มเอาค่าให้ตรง วิธีการประกอบก็ควรลงตัวต้านทานก่อน แล้วไล่ไปหาอุปกรณ์ที่ตัวสูงๆครับ เมื่อประกอบเสร็จแล้ว เช็คอุปกรณ์ทุกตัวว่าลงถูกต้องในตำแหน่งหรือไม่ โดยเฉพาะทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ จัดทิศทางให้ถูกตามในรูปด้วยน่ะ 2. ก่อนที่จะต่อไฟเข้า ก็ต้องปรับทริมพ็อทค่า 5K บนบอร์ดก่อนน่ะครับ โดยการปรับทิศไปตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้ได้ค่ากระแสที่ต่ำที่สุด ขอย้ำว่าต้องทำก่อนจ่ายไฟเข้าบอร์ดน่ะครับ หมุนตามทิศเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ยินเสียงดังแต๊กเบาๆ ก็เป็นอันว่าสุดฝั่งขวาของทริมพ็อทแล้ว 3. แนะนำว่า ยังไงก็ควรจะใีบอร์ดภาคจ่ายไฟเร็กกูเลเตอร์ที่ปรับค่าได้ ผมใช้ LM317/LM337 เพื่อจ่ายไฟบวกและลบให้กับแอมป์ ตั้งค่าไว้ที่ +15V, -15V 4. ต่อตัวต้านทาน 1Ohm ค่าสัก3Watt อนุกรมกับแหล่งไฟ +15V ย้ำว่าต่อเพียงข้างเดียวที่ไฟบวกก็พอแล้ว แล้วต่อสายคีบไปต่อกับโพรบของมิเตอร์ โดยตั้งย่านวัดไฟตรง VDC จากนั้นต่อสายไฟทั้งสามเส้นไปยังบอร์ดแอมป์ Andrea_bias by St Lim, on Flickr 5. เปิดสวิทช์จ่ายไฟเข้าบอร์ดแอมป์ แล้วอ่านค่า VDC ที่ตกคร่อมตัวต้านทาน 1Ohm ในตอนแรกควรจะได้ค่าประมาณ 11-12mV ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำสุด จากนั้นก็เริ่มปรับทริมพ็อท5K โดยการหมุนทนเข็มนาฬิกา หรือหมุนกลับไปทางซ้ายครับ ค่อยๆหมุนไปเรื่อยๆ ค่าโซลท์ที่อ่านได้จะค่อยๆขึ้นไปทีละน้อย หมุนไปเรื่อยๆจนอ่านค่าได้ 50mV หรือก็คือกระแสไหลเท่ากับ 50mA แล้วก็รอ 6. ช่วงที่รอ กระแสจะไหลเพิ่มมากขึ้นทีละนิดๆ รอสัก15-30นาที(ยิ่งนานก็ยิ่งดี) แล้วจากนั้นค่อยตั้งค่าใหม่ โดยปรับให้ได้กระแสตามที่ต้องการ สำหรับฮีทซิ้งค์ที่ใส่บนบอร์ด ผมคิดว่าคงรับได้เต็มที่ไม่เกิน 70mA ที่อุณหภูมิห้อง 30-34C เรื่องนี้ควรระวังไว้ด้วยก็จะดี 7. ระหว่างที่รอ ก็เช็คดู DC offset ที่เอาท์พุทเทอร์มินอล ค่าที่ได้ควรจะไม่เกิน +/- 1-2mV เท่านั้นครับ ส่วนเบอร์ออปแอมป์ ผมแนะนำไว้สองเบอร์ครับ TI TL071, NS LF356 เสียงก็มีความแตกต่างกันบ้าง TL071เสียงจะออกหนาแล้วติดดาร์ดเล็กน้อย ส่วนLF356เสียงสะอาดเนียน หรือจะเลือกใช้เบอร์อื่นก็ตามสะดวกครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2017, 11:18:58 am โดย dust »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
tuner
Permanent Member
Hero Member
  
ออฟไลน์
กระทู้: 552

|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2017, 04:22:51 pm » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
dust
Moderator
Hero Member
    
ออฟไลน์
กระทู้: 649

|
 |
« ตอบ #20 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2017, 11:22:26 pm » |
|
น้าdust ใช้ bc547c bc557c ทั้งหมดไหมครับ
ใช่ครับ เป็น C ทั้งหมด
อ่านแล้วอยากทำเล่นบ้าง แต่ผมไม่ได้เล่นหูฟัง สามารถเอามาทำเป็นปรีแอมป์แทนได้ไหมครับ
ไม่รู้จะตอบยังไงดี เพราะผมเองไม่ได้ทำเพาเวอร์แอมป์เล่นมานานมากแล้ว สำหรับแอมป์หูฟังตัวนี้ ถ้าดูตามลิ้งค์ข้างบน จะเห็นว่าผู้ออกแบบเค้าถอดวงจรแอมป์ไพโอเนียร์มาน่ะครับ โดยจัดวงจรให้ง่ายลงไม่ซับซ้อนอย่างต้นฉบับเดิม แอมป์หูฟัง มันก็เป็นเพาเวอร์แอมป์เล็กๆตัวนึง เมื่อก่อนผมก็เข้าใจว่าแอมป์หูฟังอะไรก็สามารถทำเป็นปรีแอมป์ได้ แต่อย่าลืมว่าถ้าเราเปรียบTHD กับวงจรปรีแอมป์คลาสเอจริงๆแล้ว ผมว่าแอมป์หูฟังยังเสียเปรียบอยู่น่ะ สำหรับเรื่องนี้รอท่านผู้รู้มาตอบแล้วกัน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
tan230311
Permanent Member
Hero Member
  
ออฟไลน์
กระทู้: 1029
|
 |
« ตอบ #23 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2017, 06:41:44 am » |
|
Andrea HPA5 by St Lim, on Flickr วันนี้พอจะมีเวลา ก็ทดลองเปลี่ยนซีอินพุทเป็นWimaดู ผมชอบเสียงกลางMKP10 มากกว่าMKP2000 และด้วยความอยากรู้เหมือนกันว่ามันจะเป็นปรีแอมป์ได้ดีมากน้อยเพียงใด ก็ลองจับต่อกับแอมป์หลอดเล็กๆ SE PCL82 แบบว่าขี้เกียจยกไปต่อกับแอมป์ใหญ่ๆเอาที่ใกล้ตัวก็สะดวกดี Andrea HPA6 by St Lim, on Flickr ลองต่อเอาท์พุทจากแอมป์หูฟัง ไปเข้าแอมป์ซิงเกิ้ลเอนด์เล็กๆ ฟังตอนแรกใจหายแว้บ ไม่มีเบสเลย ฟังไปได้สักพัก เพิ่งจะนึกออกว่าไม่ได้เปิดแอมป์หลอดฟังมานานจะครึ่งปีได้แล้ว ก็เลยรอไปก่อน สักประมาณยี่สิบนาทีเบสมาแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับแอมป์ที่ต่อกับแดคโดยตรง เสียงที่ได้จากการต่อแอมป์หูฟังเป็นปรีแอมป์เพิ่มเข้าไป เสียงกลางแหลมฟังแล้วสะอาด เสียงเนียนกว่าเดิมอย่างชัดเจน เบสไม่บวม เสียงเบสมีความชัดเจนมาก และเหมือนจะได้เบสที่ดังกว่าเดิม แต่ก็มีที่เสียไปเหมือนกัน คือฮkร์โมนิคส์ที่ออกหวานๆ หายไปเยอะ ฟังดูไฮไฟขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน หวังว่าคงจะพอเป็นไอเดียให้ได้บ้างน่ะครับ ผมก็เพิ่งจะนึกออกอีกเหมือนกันว่า มีแอมป์หูฟังอยู่ตัวนึงที่นิยมใช้เป็นทั้งแอมป์หูฟัง และปรีแอมป์ คือ Krell KSA-5 มีทั้งแผ่นปริ้นท์, ชุดคิท ขายกันให้เกลื่อนเว็บAli, Ebay ลองไปหาดู ผมว่าก็น่าสนใจดี สุดยอดเลยครับ น้า 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|